การจัดการความรู้(Knowledge Management: KM)
การจัดการความรู้
(Knowledge
Management: KM) เป็นเครื่องมือที่จะนำองค์กรไป
สู่การเป็น
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning
Organization: LO) โดยมีจุดประสงค์ คือ การพัฒนาบุคลากรและ พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น ดังนั้นกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบต่างๆ ในองค์กรจึงมีความสำคัญซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร
คนเก่งขึ้น งานดีขึ้น ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของ
องค์กรให้มีประสิทธิผลและมีสมรรถนะสูงขึ้น
การจัดการความรู้เริ่มต้นกันอย่างไร
การที่องค์กรจะติดตั้งระบบหรือดำเนินงานจัดการความรู้นั้น
เริ่มต้นจากการกำหนดวิสัยทัศน์ความรู้ขององค์กรก่อนว่าต้องการให้การขับเคลื่อนงานของหน่วยงานเป็นไปในทิศทางใด
(มักกำหนดวิสัยทัศน์ความรู้จากยุทธศาสตร์องค์กร)
ดำเนินการสร้างและพัฒนาทีมงานจัดการความรู้รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ วางระบบการสื่อสารความรู้ไปสู่ผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้อง
นำไปสู่การพัฒนา
งานให้เกิดประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด
ความรู้คืออะไร?
ความรู้ในความหมายของการจัดการความรู้ คือ
ความรู้ของบุคลากร(เทคนิค/วิธีปฏิบัติ/กลเม็ด เคล็ดลับ/ข้อควรคำนึง)ในองค์กรที่เกี่ยวกับลูกค้า
กระบวนการ ความสำเร็จ อุปสรรคขององค์กรที่ต้องมาจัดเก็บให้เป็นระบบและเผยแพร่ให้คนทำงานแบบเดียวกันได้เรียนรู้ด้วย
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการ
(Process)
ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานใน องค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร
เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม
การจัดการความรู้ในความหมายนี้จึงเป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงานไม่ใช่กิจกรรมของนักวิชาการหรือนักทฤษฎีแต่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ในฐานะแหล่งความรู้
(Resource
person) หรือผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่องเกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
เป้าหมายคือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ
มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ
วงจรความรู้(Knowledge
Spiral: SECI) เป็นอย่างไร?
1. Socialization คือการแบ่งปันความรู้
และสร้างความรู้ จากความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) ไปสู่คน (Tacit Knowledge) โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรงของผู้ที่สื่อสารระหว่างกัน
· การพูดคุยระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ
· การประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์
· วิธีแก้ปัญหาในงาน
· การสอนงานระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
2. Externalization คือการดึงความรู้จากความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคนออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง
ดึงความรู้จากภายในตัวคนถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ตำรา คู่มือ
ปฏิบัติงาน เป็นต้น
3. Combination เป็นการรวบรวมความรู้ที่ได้จากหนังสือ ตำรา มาสร้างเป็นความรู้ ประเภท
Explicit Knowledge ใหม่ ๆ
4. Internalization เป็นการนำความรู้จาก
Explicit Knowledge กลับเข้าไปเป็นความรู้ Tacit Knowledge คือการนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติจริง
เช่น หัวหน้างานเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน (เป็น
Explicit) เมื่อลูกน้องอ่านแล้วสามารถทำงานได้
จะเกิดเป็นความรู้ประสบการณ์อยู่ในตัวลูกน้อง
ความรู้ 5 กลุ่ม
David Snowden แห่งศูนย์พัฒนาศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ชื่อ
Cynefin Centre (Cynefin
อ่านว่า คูเนฟวิน)
ของบริษัทไอ บี เอ็ม ได้เสนอให้จำแนกความรู้ออกเป็น 5 กลุ่มคือ
·
Artifact หมายถึง
วัตถุซึ่งห่อหุ้มความรู้หรือเทคโนโลยีไว้
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความรู้ฝังอยู่ภายใน
·
Skills หมายถึง
ทักษะในการปฏิบัติงานหรือกระทำกิจการต่าง ๆ อันเป็นผลจากการได้ฝึกทำหรือทำงานจนเกิดเป็นทักษะ
·
Heuristics หมายถึง กฎแห่งสามัญสำนึก หรือเหตุผลพื้น ๆ
ทั่ว ๆ ไป
·
Experience หมายถึง
ประสบการณ์จากการได้ผ่านงานหรือกิจการเช่นนั้นมาก่อน
·
Talent หรือ Natural talent
หมายถึง พรสวรรค์ อันเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวที่มีมาแต่กำเนิด
ความรู้มีกี่ประเภท?
ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติ
ญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย
เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit
Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม
ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธี ต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง
ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
กระบวนการจัดการความรู้ มีขั้นตอนอย่างไร?
1.การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) บุคคลควรต้องรู้ว่าต้องการความรู้อะไรในการทำงาน และต้องดูว่าเรามีความรู้นั้นแล้วหรือยัง ควรมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้
2.การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) บุคคลและองค์กรต้องพยายามหาความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาจัดระบบเพื่อการเรียนรู้
1.การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) บุคคลควรต้องรู้ว่าต้องการความรู้อะไรในการทำงาน และต้องดูว่าเรามีความรู้นั้นแล้วหรือยัง ควรมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้
2.การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) บุคคลและองค์กรต้องพยายามหาความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทั้งภายในและภายนอกองค์กรมาจัดระบบเพื่อการเรียนรู้
3.
การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge own ledge
Organization) เป็นการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้
จัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการจัดทำรูปแบบและภาษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร มีการเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและตรงความต้องการ
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) ความสามารถในการเข้าถึงความรู้อย่างรวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ
6. การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำเอกสาร การจัดทำฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ
7. การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กรช่วยให้องค์กรดีขึ้น
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการจัดทำรูปแบบและภาษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร มีการเรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและตรงความต้องการ
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) ความสามารถในการเข้าถึงความรู้อย่างรวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ
6. การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำเอกสาร การจัดทำฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ
7. การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กรช่วยให้องค์กรดีขึ้น
เนื้อหาเยอะดีคะ
ตอบลบขอบคุณมากๆค่ะ เป็นประโยชน์มาก
ตอบลบ